1. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับที่ตั้ง
อาณาเขตการปกครอง |
สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองในตั้งอยู่ที่ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง
จังหวัดเชียงราย มีอาณาเขตบริเวณติดกับตำบลเทอดไทย ตำบลแม่สลองในตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวงไปทางทิศตะวันออก
ประมาณ 52 กิโลเมตร มีอาณาเขตดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเทอดไทย อำเภอแม่ฟ้าหลวง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง,
ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศรีค้ำ และตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ สหภาพเมียนมาร์ |
ถนนสายหลัก
เป็นถนนลาดยางอยู่ในความรับผิดชอบของทางหลวงชนบทหมายเลข ชร.4206ป่าซาง
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ถึงบ้านหัวแม่คำ หมู่ 4 ตำบลแม่สลองใน
อำเภอแม่ฟ้าหลวง ระยะทาง 72 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ
269.30 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1683,313 ไร่ |
เขตการปกครอง
ตำบลแม่สลองในแบ่งการปกครองออกเป็น 26 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านหินแตก NC๖๗๘๓๘๙
หมู่ที่ 2 บ้านห้วยผึ้ง NC๗๐๗๓๖๗
หมู่ที่ 3 บ้านอาแหม NC๖๙๔๓๐๘
หมู่ที่ 4 บ้านหัวแม่คำ NC๔๙๐๕๒๒
หมู่ที่ 5 บ้านห้วยมุ NC๗๒๙๓๖๕
หมู่ที่ 6 บ้านผาเดื่อ NC๗๗๙๓๐๓
หมู่ที่ 7 บ้านแสนใจ NC๗๙๑๓๔๑
หมู่ที่ 8 บ้านห้วยส้าน NC๘๐๒๓๖๕
หมู่ที่ 9 บ้านห้วยหยวกป่าโซ NC๖๐๖๓๙๕
หมู่ที่ 10 บ้านห้วยหก NC๖๔๕๓๕๕
หมู่ที่ 11 บ้านมะหินกอง NC๖๖๓๓๖๓
หมู่ที่ 12 บ้านพะน้อย NC๖๖๗๓๙๖
หมู่ที่ 13 บ้านต้นม่วง NC๗๒๘๓๓๘
หมู่ที่ 14 บ้านเล่าลิ่ว NC๖๑๘๔๒๐
หมู่ที่ 15 บ้านอาแหละ NC๖๔๕๓๙๗
หมู่ที่ 16 บ้านจะคำน้อย NC๗๒๒๓๕๕
หมู่ที่ 17 บ้านห้วยโย NC๗๔๙๓๕๗
หมู่ที่ 18 บ้านห้วยหมาก NC๖๐๑๓๖๑
หมู่ที่ 19 บ้านแม่แสลป NC๗๓๖๓๒๕
หมู่ที่ 20 บ้านนาโต่ NC๕๘๘๔๔๒
หมู่ที่ 21 บ้านโป่งไฮ NC๕๖๙๔๓๔
หมู่ที่ 22 บ้านแสนใจพัฒนา NC๗๙๑๓๕๑
หมู่ที่ 23 บ้านสันมะเค็ด NC๕๓๘๔๘๙
หมู่ที่ 24 บ้านสามแยกอีก้อ NC๗๔๕๓๐๕
หมู่ที่ 25 บ้านมอล่อง NC๖๖๗๓๔๘
หมู่ที่ 26 บ้านห้วยกระ NC๕๖๕๔๔๖
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองในได้รับการยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองในเมื่อเดือน
มีนาคม 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง |
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไปของตำบลแม่สลองในเป็นภูเขาโดยมีแหล่งชุมชนตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำสำคัญต่างๆ
เช่น แม่น้ำคำ แม่น้ำห้วยหยวก แม่น้ำห้วยหก แม่น้ำแม่สะแลป โดยส่วนใหญ่พื้นที่อยู่ในเขตป่าสงวนทั้งหมด
มีถนนทางหลวงชนบท ตัดผ่านจากปากทางแม่สลองถึงสามแยกอีก้อผ่านไปถึงบ้านเทอดไทย
ตำบลเทอดไทย จะแยกไปสิ้นสุดที่บ้านหัวแม่คำ ตำบลแม่สลองใน |
แห่ลงน้ำที่สำคัญได้แก่
แม่น้ำคำ น้ำห้วยหยวก น้ำห้วยหมาก น้ำห้วยหก ซึ่งเป็นลำน้ำในการอุปโภคและใช้ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่
เป็นแหล่งน้ำที่สร้างประปาภูเขาให้ชาวบ้านไว้ใช้ตลอดปี |
จำนวนประชากร
ข้อมูลทะเบียนราษฎร ของอำเภอแม่ฟ้าหลวง ตำบลแม่สลองในมีประชากรจำนวน
รวมทั้งสิ้น 25,247 คน แยกเป็นชาย 12,280 คน เป็นหญิง 12,956 คน
( ณ พฤษภาคม 2555 ) |
|
สภาพทางเศรษฐกิจทั่วไป |
อาชีพ
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน ค้าขาย
หัตถกรรมในครัวเรือนและอุตสาหกรรมในครัวเรือน และรับจ้างทั่วไป
หน่วยงานธุรกิจในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สลองใน
-ปั๊มน้ำมันหลอด จำนวน 17 แห่ง
-โรงสีขนาดกลาง จำนวน 3 แห่ง
-โรงสีขนาดเล็ก จำนวน 53 แห่ง
-เกสเฮาส์ จำนวน 1 แห่ง |
|
สภาพทางสังคม |
การศึกษา
-โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 12 แห่ง
-โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 4 แห่ง
-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 22 แห่ง
-ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา จำนวน 14 แห่ง
-ศูนย์ฝึกอาชีพชายแดน จำนวน 2 แห่ง
- วิทยาลัยเกษตร จำนวน 1 แห่ง
-โรงเรียนสอนภาษาจีน จำนวน 4 แห่ง
-องค์กรนานาชาติแพลน จำนวน 1 แห่ง
-วนอุทยาน จำนวน 1 แห่ง |
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
-วัดสำนักสงฆ์ จำนวน 10 แห่ง
-ศาลเจ้าแม่กวนอิม จำนวน 2 แห่ง
-โบสถ์คริสต์ โปรเตสแตนต์ จำนวน 26 แห่ง
-มัสยิด จำนวน - แห่ง |
การสาธารณสุข
-โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
-สถานีอนามัย จำนวน 4 แห่ง
-สาธารณสุขชุมชน จำนวน 26 แห่ง
-อัตราการมีและการใช้ส้วมราด 98.50% |
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ตู้ยามตำรวจ จำนวน 2 แห่ง
-โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงแม่ฟ้าหลวง-แม่จัน (พ.ม.พ.) จำนวน
1 แห่ง
-หน่วยปฏิบัติการพื้นที่ชายแดน ปชด. จำนวน 1 แห่ง
-หน่วยปฏิบัติการทหารพรานหัวแม่คำ จำนวน 1 แห่ง |
|
บริการพื้นฐาน |
การคมนาคม
-มีถนนลาดยางจากอำเภอแม่จันถึงบ้านหินแตก และจากที่ว่าการอำเภอแม่ฟ้าหลวง
ถึงหมู่บ้านหินแตกเป็นสายหลักนอกจากนี้ยังมีถนนดินลูกรังไปยังหมู่บ้านต่าง
ๆ ในตำบลเป็นส่วนใหญ่
การโทรคมนาคม
-ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาต - แห่ง
-โทรศัพท์สาธารณะทางไกล จำนวน 15 แห่ง
การไฟฟ้า
-หมู่บ้านที่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 24 แห่ง
-หมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน 2 แห่ง
|
|
ลำห้วย 5 สาย คือ |
-แม่น้ำคำ
-แม่น้ำห้วยหมาก
-แม่น้ำห้วยหยวก
-แม่น้ำห้วยหก
-แม่น้ำแม่สะแลป แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
-ฝาย จำนวน 30 แห่ง
-บ่อน้ำตื้น จำนวน 6 แห่ง
-ประปาภูเขา จำนวน 12 แห่ง มวลชนจัดตั้งขึ้น
-ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น จำนวน 500 คน
-ไทยอาสาป้องกันชาติ 1 รุ่น จำนวน 120 คน
-อปพร. 3 รุ่น จำนวน 350 คน |
|